ทำอย่างไรไม่ให้ “กลัวการมีคู่”

ทำอย่างไรไม่ให้ “กลัวการมีคู่”

              จะเกิดอะไรขึ้นหากว่าเรามีคู่หรือมีแฟน? เราจะสามารถอดทนกับการปรับตัวเข้ากับเขาที่มีความแตกต่างกันกับเราได้ไหม เขากับเราจะคบกันได้ยืนยาวไหม เราจะเป็นคนที่ดีพอสำหรับเขาหรือเปล่า เขาจะมีคนอื่นไหม ถ้าเกิดเรื่องนั้นเรื่องนี้ขึ้นมาจะแก้ไขอย่างไรให้ทั้งเรากับเขาไปต่อกันได้โดยที่ไม่ทำให้ความรักของสองเราจืดจางลง มีเรื่องติดค้างให้เก็บมาคิดสะสมจนหมดรักกันเรื่อย ๆ ในอนาคต แล้วเราจะอดทนกับการที่จะมีชีวิตอิสระลดลง ต้องคอยระวังการอยู่กับคนต่างเพศได้ไหม เราจะเลือกคบคนผิดหรือเปล่า เราจะเหนื่อยกับการเป็นแรงผลักดันให้เขาได้หรือเปล่า ไหนจะเรื่องอื่น ๆ สารพัดร้อยแปดพันเก้าของการมีคู่ที่ยิ่งเราคิดถึงปัญหานั้น ๆ ก็จะยิ่งสะสมทำให้เราเป็นคนที่ “กลัวการมีคู่” แม้จะอยากมีความรักสักแค่ไหนก็ตาม ซึ่งมันก็ทรมานอย่างที่คุณไม่ควรปิดใจให้ตัวเองเลย แต่เมื่อความกลัวการมีคู่มันได้เกิดขึ้นกับคุณไปเสียแล้ว จะทำอย่างไรให้ความกลัวนี้หายไป?

“กลัวการมีคู่” จะทำอย่างไรให้ความกลัวนี้หายไป

รูปภาพประกอบ : Pixabay

เชื่อมั่นในเป้าหมายตัวเองเพื่อไม่ให้กลัวการมีคู่

            หากคุณมีเป้าหมายเป็นของตัวเองในการที่จะเป็นคู่กับใครสักคน คุณก็จะลืมความกลัวทั้งมวลที่มีต่อการมีแฟนหรือมีคู่รัก เพราะเป้าหมายของการมีคู่จะทำให้คุณมีไฟในตัวเองด้านการวางแผนระหว่างทางที่จะทำให้ความรักของคุณกับคู่ของคุณคอมพลีทอย่างไรและเป็นแนวคิดที่ดีในการเตือนสติคุณเสมอเวลาที่คุณรู้สึกเหนื่อยกับความรัก แล้วอยากที่จะอดทนต่อไป เช่น เป้าหมายการมีคู่ของคุณ คือ อยากเป็นแรงผลักดันให้กับใครสักคนที่เป็นเซฟโซนให้กับคุณที่ชีวิตเจอแต่ความกดดัน คุณก็จะมีแนวคิดในการเน้นคบเพื่อฮีลใจกันมากกว่าการมีแฟนเพื่อให้เกิดโมเม้นต์กุ๊กกิ๊ก ซึ่งแม้จะมีเรื่องให้ไม่เข้าใจในมุมมองกันบางครั้ง คุณก็สามารถใช้แนวคิดการฮีลใจของคุณค่อย ๆ ผ่อนคลายความโกรธที่ตัวเองมีและค่อย ๆ พูดคุยกับเขาด้วยเหตุผลเพราะรู้ว่าต่างคนต่างมีมุมมองสภาพแวดล้อมที่เติบโตมาต่างกัน เป็นต้น

เชื่อมั่นในตัวคู่แท้ของคุณเพื่อไม่ให้กลัวการมีคู่

รูปภาพประกอบ : Pixabay

            การเชื่อมั่นในตัวคู่แท้ของคุณจะทำให้คุณไม่กลัวการมีคู่ เพราะสำหรับคู่แท้ของคุณนั้น แม้คุณจะไม่อาจรู้ได้ว่าคนที่คบหรือเริ่มคุยกันตอนนี้จะเป็นคู่กันไหม แต่เมื่อเขาคือคนที่ทำให้คุณตกหลุมรักได้ทั้งที่คุณไม่เคยตกหลุมรักคนอื่น ๆ มาก่อน นั่นแปลว่าในใจลึก ๆ คุณมีความเชื่อมั่นและศรัทธาในสิ่งดี ๆ ที่เขาจะมอบให้คุณอยู่แล้ว ฉะนั้นให้เชื่อในตัวตนของเขา หากคุณรักเขา ความใกล้ชิดย่อมทำให้คุณรู้จักเขาดีที่สุดว่าเขาเป็นคนอย่างไร หากเขาไม่ดี คุณก็ย่อมรู้ได้เองจากการกระทำต่าง ๆ ที่เขาแสดงออกภายหลังและสามารถเฟดตัวเองออกมาจากเขาได้อยู่แล้ว

รู้วิธีการปรับตัวให้เป็นกึ่งกลางกันเพื่อไม่ให้กลัวการมีคู่

รูปภาพประกอบ : Pixabay

            หากคุณกับคนรักสามารถปรับตัวเองให้เป็นกลาง ๆ เพื่อสามารถคบกันได้แม้ว่าต่างฝ่ายจะมีนิสัยใจคอ มุมมองความคิด หรือการถูกหล่อหลอมมาในสภาพแวดล้อมสังคมที่ต่างกันก็จะสามารถทำให้พวกคุณกลายเป็นคู่รักที่อยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข เติมเต็มประสบการณ์ผ่านการแลกเปลี่ยนมุมมองต่าง ๆ ให้เติบโตมากขึ้นได้ จึงไม่ต้องกลัวการมีคู่ที่คุณอาจต้องอดทนกับความไม่ลงรอย หรือกลัวเลือกคนผิดเลย เพราะทุกคนย่อมมีข้อดี – ข้อเสียที่ต่างกัน ขึ้นอยู่กับว่าคุณจะสามารถยอมรับข้อเสียของคนที่คุณคบได้มากน้อยแค่ไหนเท่านั้นเอง ฉะนั้นคำว่า “เลือกคนผิด”จึงไม่มีอยู่จริงหากคุณรักเขาจากที่ดู ๆ ตัวเขามาค่อนข้าวนานแล้ว ไม่ใช่แค่ความหลงใหล

อัพเดทข่าวสาร สาระดีๆ เพิ่มเติมที่ The7days

#เคล็ดลับความรัก #กลัวการมีคู่

#สาระความรู้ #ความรัก #เคล็ดลับชีวิตู่ #การแต่งงาน #เซ็กส์