ความเหงา กับ หนทางออก

ความเหงา กับ หนทางออก

       ความเหงากับหนทางออก ผู้ใหญ่ประมาณหนึ่งในสามมักได้รับผลกระทบจากความเหงา ซึ่งมีอิทธิพลต่อสมอง ระบบภูมิคุ้มกัน นำไปสู่ภาวะซึมเศร้า และการคิดสั้นในที่สุด น่าสนใจว่า ความเหงา นั้นทำร้ายร่างกายไม่ต่างจากการสูบบุหรี่และหนักหนากว่าโรคเบาหวาน อีกทั้งความรู้สึกจะทวีขึ้นเมื่อต้องผ่านช่วงตึงเครียดในชีวิต ดังนั้นจะมาบอกเล่าข้อมูลของความเหงาและวิธีรับมือ [read more] ความเหงา กับ หนทางออก สถิติของความเหงา        จากการศึกษาของสหรัฐฯ พบว่าผู้คนมีความเหงาเพิ่มขึ้นในเวลาไม่กี่ทศวรรษ ด้วยจำนวนประชากรสหรัฐฯ ที่อยู่อาศัยคนเดียวเพิ่มขึ้นเป็นหนึ่งในสามของทั้งหมด และจำนวนของคนที่พวกเขาไว้ใจได้ในช่วงชีวิตโดยเฉลี่ยที่สองคนในปี 2004 เมื่อเทียบกับปี 1985 สะท้อนให้เห็นว่าผู้คนทุกวันนี้ “เหงามากขึ้น” อย่างไรก็ดีความเหงาเป็นสิ่งที่ตัดสินได้ยาก เพราะแม้บุคคลนั้นจะมีเพื่อนมากมาย แต่ก็รู้สึกเหงาได้อยู่ดี ความเหงาคืออะไรกัน?        ลองนึกถึงตราชั่งแบบสองแขนที่ถ่วงสมดุลระหว่าง “จำนวน” และ “คุณภาพ” ของความสัมพันธ์ที่ตนหวังกับที่เกิดขึ้นจริง ยกตัวอย่าง คุณมีเพื่อนแค่สองคน แต่คุณมีความสุขเมื่ออยู่กับพวกเขาและพวกเขาก็เข้าใจคุณ เปรียบเทียบกับคุณมีเพื่อนมากมาย แต่พวกเขากลับทำให้คุณรู้สึกเหงาเสียนี่… ความเหงาอาจทำให้เราทำอะไรที่ไม่เคยทำและมีแนวโน้มแสดงความก้าวร้าวใส่ผู้อื่นด้วย ถ้าเหงาก็ไปหาเพื่อนสนิทเราสิจะยากอะไร? บางครั้งเพื่อนอาจไม่เยียวยาความเหงา เพราะพวกเขาอาจไม่สามารถยื่นมาช่วยได้ ขณะเดียวกันคนที่มีความสุขดีออกไปเที่ยวกับคนเหงา มีแนวโน้มจะเหงาตามไปด้วย และความเหงานั้นมีส่วนในการเสียชีวิตของผู้ชายมากกว่าผู้หญิง เพราะผู้ชายมักไม่แสดงความรู้สึกต่อสังคมพร้อมกับการปฏิเสธว่าตนเองเหงา กว่าจะยอมรับว่าตนเองเหงา…สุขภาพจิตก็เสื่อโทรมไปมากแล้ว วิธีรับมือกับความเหงา        […]