จุดไฟรัก ในความสัมพันธ์ที่จืดชืด

จุดไฟรัก ในความสัมพันธ์ที่จืดชืด

       จุดไฟรัก ในความสัมพันธ์ที่จืดชืด เมื่อสองคนอยู่ในความสัมพันธ์ร่วมกันมาเป็นเวลานาน ความปรารถนาซึ่งกันและกันนั้นจะแตกต่างจากช่วงเริ่มคบกันอย่างสิ้นเชิง ราวกับว่าความรักนั้นไม่มีวันหมดเลย อาจเป็นเพราะพวกเขาได้ก้าวผ่านเวลาของการเรียนรู้ความชอบ ประสบการณ์ หรือหัวเราะร่วมกัน ส่วนทางวิทยาศาสตร์ได้ศึกษาปรากฏการณ์นี้และมองว่ามันคือ “การเปลี่ยนแปลงของสารเคมีในสมอง” ที่ทำให้ครั้งหนึ่งพวกเขามีอาการคลั่งรัก [read more] จุดไฟรัก ในความสัมพันธ์ที่จืดชืด ภาวะผูกพัน (attachment phase)        ถ้าเรียกกันภาษาบ้านๆ คือ ช่วงหมดโปรโมชั่น ซึ่งมีความเชื่อมโยงกับปริมาณของฮอร์โมนแห่งความสุขลดลง(เช่น โดพามีน เซโรโทนิน) ก่อนหน้านั้นนักวิจัยพยายามศึกษาร่างกายของเราจะมีปฏิกิริยาอย่างไรเมื่อมีความรัก ด้วยการนำอาสาสมัครที่เพิ่งมีความรักมาเข้าเครื่องสแกนแบบ MRI และให้เหล่าอาสาสมัครจ้องมองรูปภาพของคนรู้จักกับคนรัก พบว่าเวลาที่มองคนรักสมองได้รับแรงกระตุ้นให้หลั่งสารโดพามีนปริมาณมาก ในระดับเดียวกับการเสพโคเคนหรือกินช็อคโกแลตเลยทีเดียว เมื่อมันมีมากขนาดนี้บ่งบอกถึงความรักอันเร่าร้อนที่มีต่อคนรัก พอจะเห็นภาพได้ว่าคู่รักที่คบกันมานานนั้นจะหลั่งสารดังกล่าวน้อยลง เพราะผ่านชีวิตร่วมกันมาย่อมเกิดความขัดแย้งได้ ซึ่งเป็นอารมณ์เชิงลบที่บั่นทอนความรักลง โดยกิจกรรมต่างๆ เช่น เรื่องบนเตียง การกล่าวชมกัน จะลดลงอย่างเด่นชัดหลังจาก 2-3 ปีแรก แม้หลายคู่ยังปฏิบัติกิจกรรมเหล่านี้อย่างสม่ำเสมอ แต่สารเคมีดังกล่าวก็ไม่ค่อยมีผลเท่าไร อย่างไรก็ตามยังมีเรื่องน่าสนใจในผลการศึกษา สำหรับอาสาสมัครที่แต่งงานเป็นสิบปีจะหลั่งสารเคมีไม่ต่างจากคนที่เพิ่งตกหลุมรักเลย…เพราะอะไรกัน? อย่าปล่อยให้ความซ้ำซากทำลายความรัก        จากที่กล่าวข้างต้นว่า เคล็ดลับของคู่รักที่คบกันมาสิบปีแล้วทำไมยังรักกันดี อาจเป็นเพราะพวกเขาพยายามสร้างความแปลกใหม่ให้ชีวิตประจำวัน ส่งผลให้คู่รักมีความใกล้ชิดกันมากยิ่งขึ้น ไม่จำเป็นต้องทำกิจกรรมที่หวือหว้าแต่เรียบง่าย เช่น […]